นกเป็นสัตว์เลือดอุ่น ประเภทสัตว์ปีก ซึ่งในโลกนี้มีนกกว่า 9,000 ชนิด ในปี พ.ศ. 2536 มีการสำรวจนก ในประเทศไทย พบว่า มีนกอยู่ 915 ชนิด แต่ปัจจุบัน สำรวจเพิ่มเป็น 964 ชนิด ในจำนวนนกทั้ง 964 ขนิดนี้ บางชนิดได้สูญพันธ์ ไปจากธรรมชาติแล้ว บางชนิดอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธ์ ซึ่งมีทั้งนกประจำถิ่น และนกอพยพ 
นักวิทยาศาสตร์ สัญนิษฐานว่า นกมีวิวัฒนาการ มาจากสัตว์เลื้ยคงาน เนื่องจากขุดค้นพบ ซากดึกดำบรรพ์ ของนกโบราณ อายุปรมาณ 135 ล้านปี ที่แคว้น บาวาเรีย ประเทศเยอรมันนี ที่มีลักษณะกึ่งสัตว์ปีก กึ่งสัตว์เลื้อยคลาน เรียกว่า อาร์คีออฟเทอริค

ลักษณะทางกายภาพ

นกเป็นสัตว์ปีกที่มีกระดูกสันหลัง จัดเป็นสัตว์เลือดอุ่น ที่มีวิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลาน ที่มีลักษณะเฉพาะตัว คือ ลำตัวเพรียว มีขนที่เรียกว่า fealther ปกคลุมร่างกายทำให้เก็บความร้อนได้ดี และมีเม็ดสีที่ทำให้ขนมีสีสันสวยงาม ส่วนขนบริเวณหางและปีกถูกสร้างขึ้นเพื่อช่วยในการบิน โครงร่างภายในของนกมีการดัดแปลงเพื่อช่วยในการบิน

โดยโครงกระดูกมีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา เพราะภายในมีลักษณะกลวงเป็นโพรง ในการหายใจของนกจะใช้ปอดที่ภายในมีระบบถุงลมที่พัฒนาดีมาก โดยถุงลมจะกระจายอยู่ในส่วนต่างๆ ของร่างกายแม้กระทั่งในกระดูก ทำให้มีอากาศสำรองมากในขณะบิน ภายในร่างกายนกมีอุณหภูมิสูงทำให้เกิดกระบวนการเผาผลาญที่รวดเร็ว เช่น กินเร็ว ถ่ายเร็ว หายใจเร็ว นอกจากนี้ นกยังมีเสียงที่ไพเราะและมีนิ้วเท้า ขา ที่ดัดแปลงให้เหมาะแก่การจับกิ่งไม้ เดิน วิ่ง และว่ายน้ำ มีจงอยปาก (beak) แทนฟันในการบดอาหาร

ความหลากหลายของชนิดพันธุ์

นกเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดอยู่ใน Class Aves แยกออกเแป็น 2 พวก คือ
1. นกโบราณ (Archaeornithes) นกพวกนี้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว
2. นกปัจจุบัน (Neornithes) ซึ่งมีการพบนกชนิดต่างๆ ทั่วโลกกว่า 9,000 ชนิด สำหรับ
ประเทศไทยมีการสำรวจพบ 949 ชนิด แบ่งเป็น 19 กลุ่ม ดังนี้
1. นกในอันดับนกเป็ดผี (Order Podicipediformes) จำนวน 2 ชนิด
2. นกในอันดับนกจมูกหลอด (Order Procellariiformes) จำนวน 3 ชนิด
3. นกในอันดับนกเขตร้อน ,นกกระทุง, นกกาน้ำ (Order Pelecaniformes) จำนวน 10 ชนิด
4. นกในอันดับนกกระสาและนกยาง (Order Ciconiiformes) จำนวน 30 ชนิด
5. นกในอันดับนกเป็ดน้ำ (Order Anseriformes) จำนวน 21 ชนิด
6. นกในอันดับเหยี่ยวปีกแหลม (Order Falconiformes) จำนวน 51 ชนิด
7. นกในอันดับนกยูง (Order Galliformes) จำนวน 23 ชนิด
8. นกในอันดับนกกระเรียน (Order Gruiformes) จำนวน 20 ชนิด
9. นกในอันดับนกกระแต และนกหัวโต (Order Charadriiformes) จำนวน 90 ชนิด
10. นกในอันดับนกเขา (Order Columbiformes) จำนวน 28 ชนิด
11. นกในอันดับนกแก้ว (Order Psittaciformes) จำนวน 7 ชนิด
12. นกในอันดับนกคัคคู (Order Cuculiformes) จำนวน 26 ชนิด
13. นกในอันดับนกเค้า (Order Strigiformes) จำนวน 19 ชนิด
14. นกในอันดับนกตบยุง (Order Caprimulgiformes) จำนวน 10 ชนิด
15. นกในอันดับนกแอ่น (Order Apodiformes) จำนวน 15 ชนิด
16. นกในอันดับนกขุนแผน (Order Trogoniformes) จำนวน 6 ชนิด
17. นกในอันดับนกกระเต็น (Order Coraciiformes) จำนวน 36 ชนิด
18. นกในอันดับนกหัวขวาน (Order Piciformes) จำนวน 50 ชนิด
19. นกในอันดับนกจับคอน (Order Passeriformes) จำนวน 502 ชนิด 

การดำรงชีวิตและอุปนิสัย

นกมีพฤติกรรมที่น่าสนใจหลายอย่าง เช่น พฤติกรรมการหากิน นกส่วนใหญ่หากินเป็นคู่ เช่นนกหัวขวานสี่นิ้วหลังทอง ไก่ฟ้าหลังเทา นกเขียวคราม นกพญาไฟใหญ่ เป็นต้น รองลงมาได้แก่นกที่หากินเป็นฝูง เช่น นกเปล้าหน้าเหลือง ไก่ป่า นกจาบคาหัวส้ม นกเอี้ยง นกกะรางสร้อยคอใหญ่ เป็นต้น และที่พบน้อยที่สุดได้แก่นกที่หาดินแบบเดี่ยว เช่น นกแว่นสีเทา นกขุนแผนอกสีส้ม นกตะขาบดง นกกะปูดใหญ่ นกขมิ้นท้ายทอยดำ เป็นต้น นกแต่ละชนิดจะกินอาหารแตกต่างกัน เช่น พวกนกที่กินเนื้อ ได้แก่ พวกนกเค้าแมว เหยี่ยว นกอีเสือหัวดำ, พวกกินแมลง ได้แก่ พวกนกกางเขนบ้าน นกกระจิบ เป็นต้น พวกนกกินเมล็ดพืช ได้แก่ พวกนกเขาใหญ่ นกกระติ๊ดขี้หมู นกกระจาบ เป็นต้น พวกกินผลไม้ ได้แก่ พวกนกปรอดหัวโขน เป็นต้น นอกจากนี้ นกยังมีพฤติกรรมอื่นๆ อีก เช่น พฤติกรรมการติดต่อสื่อสาร การประกาศอาณาเขต การจับคู่เกี้ยวพาราสี การสร้างรังวางไข่ การเลี้ยงดูลูก ซึ่งนกถือเป็นสัตว์ที่มีสัญชาตญานของพ่อแม่ในการเลี้ยงดูป้องกันลูก จะเสียเวลาหลายชั่วโมงในการบินหาอาหารมาป้อนลูก นอกจากนี้ นกบางชนิดจำเป็นต้องอพยพย้ายถิ่นเป็นประจำทุกปี เมื่อฤดูกาลเปลี่ยนไปเพื่อใปสู่ถิ่นที่มีอากาศอบอุ่นและมีอาหารสมบูรณ์มากกว่า เช่น พวกนกนางนวล นกนางแอ่นบ้าน นกเขียวคราม นกพญาไฟใหญ่ เป็นต้น

บทบาทในระบบนิเวศ

นกเป็นหน่วยหนึ่งของระบบนิเวศ (ecosystem) หากไม่มีนก ระบบนิเวศก็จะไม่ต่อกันเป็นลูกโซ่ แม้ว่าระบบจะเดินไปได้แต่ก็ไม่สมบูรณ์ นกเป็นตัวเชื่อมต่อขบวนการของระบบนิเวศให้สมบูรณ์ อาทิเช่น วงจรของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (co2 Cycle) อันเกี่ยวกับการสังเคราะห์แสงของพืช นกเป็นตัวการในการผสมพันธุ์และกระจายพันธุ์พืช เพราะเมื่อนกกินเมล็ดพืช ผลไม้แล้วเวลาที่นกถ่าย เมล็ดพืชจะงอกแพร่พันธุ์จากพื้นที่ป่าหนึ่งไปสู่พื้นที่อีกป่าหนึ่ง หรือแม้แต่นกยังเป็นตัวช่วยควบคุมและกำจัดแมลง ตัวหนอน ซึ่งเป็นศัตรูต่อไม้ในป่าและพืชผัก ผลไม้ต่างๆ นกส่วนใหญ่กินแมลงเป็นอาหาร จึงมีประโยชน์ต่อมนุษย์ในการควบคุมปริมาณแมลงศัตรูพืชทางการเกษตรที่สำคัญ

ดัชนีบ่งชี้ทางชีวภาพ

นกเงือกถือเป็นดัชนีบ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าได้ เพราะนกเงือกเป็นนกขนาดใหญ่ จึงต้องหาอาหารในปริมาณมาก ซึ่งจะหาได้ในป่าที่สมบูรณ์เท่านั้น ป่าดงดิบที่มีต้นไม้สูงใหญ่จึงเป็นสถานที่แห่งเดียวที่มันจะดำรงชีวิตอยู่ได้ นกเงือกมีความสัมพันธ์กับผืนป่าจนได้รับการยกย่องให้เป็นสัญลักษณ์ของป่าดงดิบ นอกจากนี้ พฤติกรรมการย้ายถิ่นของนกบางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิงพวกนกอพยพที่จะย้ายถิ่นเป็นประจำทุกปี จะเป็นตัวชี้ให้เรารู้ถึงฤดูกาลได้ เช่น นกยางดำ ซึ่งทุกปีจะอพยพเข้ามาวางไข่ในท้องทุ่งภาคกลางของประเทศไทยในช่วงฤดูฝน และจะบินกลับลงไปทางใต้เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว หรือนกปากห่างที่บินเข้ามาทำรังในประเทศไทยช่วงหน้าแล้ง แล้วจะบินกลับไปยังบังคลาเทศเมื่อเข้าสู่ฤดูฝน เป็นต้น

สถานภาพ

ในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2536 ได้มีการสำรวจพบว่า มีนก 7 ชนิดที่สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยแล้วและอีกหลายสิบชนิดอยู่ในภาวะที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์และหายากมาก บางชนิดไม่พบตัวมานานนับสิบปีแล้ว บางชนิดพบน้อยครั้งและจำกัดอยู่เพียงบางพื้นที่เท่านั้น เช่น นกแต้วแล้วท้องดำ ที่พบเฉพาะในป่าดิบที่ราบต่ำเท่านั้น ซึ่งสาเหตุของการลดจำนวนประชากรของนกลงนั้น เนื่องจากการล่าและการทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยของมัน หากกระแสการทำลายยังคงเป็นอยู่เช่นที่ผ่านมาตัวเลขของนกที่สูญพันธุ์คงจะมีมากขึ้นกว่านี้อีก ในประเทศไทยนกจัดเป็นสัตว์ป่า ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ 2535 ซึ่งนกที่จัดให้เป็นสัตว์ป่าสงวนมี 3 ชนิด ได้แก่ นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร นกแต้วแล้วทองดำและนกกระเรียน ส่วนนกที่จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน ได้แก่ นกเงือกทุกชนิดในวงศ์ Bucerotidae ไก่ฟ้าทุกชนิดในสกุล Llophura เป็นต้น

อ้างอิง

http://www.geocities.com/seebird_th/bird.htm

แผนที่

แมลง และสัตว์พาหะ