หมัด จัดเป็นแมลงที่ไม่มีปีก ลำตัวแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง แยกออกจากกันไม่ชัดเจนนัก มีขา 3 คู่ที่มีความแข็งแรงมาก และขาคู่หลังยาวทำให้กระโดดได้ไกลถึงประมาณ 6 นิ้ว มีลำตัวแบน เป็นปรสิตภายนอกร่างกาย ทั้งในมนุษย์และสัตว์อื่นๆ เช่น หมักสุนัข หมัดแมว หมัดหนูเอเชีย หรือหนูตะวันออก ฯลฯ หมัดจะเป็นปรสิตเฉพาะเมื่ออยู่ระยะตัวแก่เท่านั้น ปากของหมัดวิวัฒนาการขึ้นมาเพื่อ กัดและดูดเลือด เมื่อผิวหนังถูกกัดฉีกออกมาเป็นแผล มันจะสำรอกน้ำลายลงไปบนแผลนั้น แล้วดูดเลือด เมื่อดูดเลือดแล้วมันจะขับถ่ายของเสียออกมา หมัดที่กินอาหารอิ่มจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่นานเท่าหมัดที่มีความอดอยาก และจะมีชีวิตอยู่ได้หลายสัปดาห์ โดยไม่ต้องกินอาหาร หมัดจะไม่ไต่ไปตามพื้นที่เรียบ และแห้ง แต่จะไต่ได้ไปตามพื้นที่มีความเฉอะแฉะ

วงจรชีวิตของหมัด

วงจรชีวิตของหมัดมี 4 ระยะ คือ ระยะเป็นไข่ ระยะเป็นตัวอ่อน ระยะเป็นดักแด้ และระยะเป็นตัวแก่ ในสภาวะที่มีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม มันจะมีวงจรชีวิตประมาณ 2-3 สัปดาห์ หมัดมีการผสมพันธุ์บนตัวโฮสต์และส่วนใหญ่จะวางไข่นอกตัวโฮสต์ และมีความต้องการเลือดเป็นอาหารก่อนจะวางไข่ ไข่ของหมัดอาจจะอยู่ตามเสื่อ ผ้า เฟอร์นิเจอร์ หรือพื้น เพดาน มันวางไข่ได้ครั้งละประมาณ 3-18 ฟอง และหนึ่งชั่วชีวิตของมันจะวางไข่ได้ประมาณ 300-500 ฟอง ไข่ของหมัดจะไม่ติดเส้นผมหรือขนของโฮสต์ ภายในระยะเวลาประมาณ ตั้งแต่ 2 วัน จนถึง 2 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความชื้น จะแตกออกเป็นตัวอ่อน ซึ่งตัวอ่อนจะมีการลอกคราบเป็น 3 ระยะ ตัวอ่อนคลายตัวอ่อนของแมลง ลำตัวประกอบเป็นปล้องๆ มี 13 ปล้อง และในแต่ละปล้องจะมีขนเส้นยาวขึ้น ตัวอ่อนกินไรฝุ่น ผง หรือเลือดแห้ง เป็นอาหาร ตัวอ่อนจะมีอายุประมาณ 2 สัปดาห์ จึงลอกคราบกลายเป็นตัวแก่ และจะต้องขึ้นไปเกาะบนตัวโฮสต์ทันที ตัวแก่ของหมด มีความประมาณ 1-8.5 มิลลิเมตร มีสีน้ำตาล มีปากแบบกัดและเจาะดูด ไม่มีปีก มีลำตัวแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนอกและส่วนท้องแบบไม่ชัดเจน หมัดมีความทนทานทั้งในสภาพที่มีอุณหภูมิและความชื้นสูงได้ดี

ความสำคัญของหมัดต่อสุขภาพอนามัย

หมัดนอกจากทำให้เกิดความรำคาญเนื่องจากการกัดแล้ว หมัดที่เป็นปรสิตของหนูยังอาจเป็นพาหะนำโรคต่างๆมาสู่มนุษย์

  • การกัดของหมัดทำให้เกิดอาการคันเป็นตุ่มแดงบวม และอาจทำให้การอักเสบติดเชื้อตามมา
  • การกัดของหมัดหนูอาจนำเชื้อโรคบางอย่างมาสู่มนุษย์และสัตว์อื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคติดต่อที่เป็นอันตรายร้านแรงมาก คือ โรคกาฬโรค นอกจากนี้หมัดยังอาจนำโรคติดต่ออื่นๆมาสู่มนุษย์ เช่น มูรีไทฟัส (murine typhus) ทูลารีเมีย (tularemia) ฯลฯ ส่วนหนอนพยาธิตัวแบบอาจติดมากับหมัดแล้วปนเปื้อนอาหารทำให้มนุษย์บริโภคอาหารที่มีพยาธิตัวแบนเข้าไปในร่างาย

อ้างอิง

http://www.thaieditorial.com

แผนที่

แมลง และสัตว์พาหะ